เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2564 ที่ผ่านมาเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้ออกประกาศ  ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ฉบับที่ 16 เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศตอนนี้กระจายเป็นวงกว้างและยอดผู้ติดเชื้อในประเทศเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงมีข้อกำหนดที่ใช้ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด มีผลบังคับใช้ในวันที่ 4 มกราคม 2563 นี้

ทั้งนี้มีการกำหนดพื้นที่ที่ประกาศใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ ดังนี้

  • พื้นที่ควบคุมสูงสุด 28 จังหวัด

1) ตาก
2) นนทบุรี
3) ปทุมธานี
4) พระนครศรีอยุธยา
5) สระบุรี
6) ลพบุรี
7) สิงห์บุรี
8) อ่างทอง
9) นครนายก
10) กาญจนบุรี
11) นครปฐม
12) ราชบุรี
13) สุพรรณบุรี
14) ประจวบคีรีขันธ์
15) เพชรบุรี
16) สมุทรสงคราม
17) สมุทรสาคร
18) ฉะเชิงเทรา
19) ปราจีนบุรี
20) สระแก้ว
21) สมุทรปราการ
22) จันทบุรี
23) ชลบุรี
24) ตราด
25) ระยอง
26) ชุมพร
27) ระนอง
28) กรุงเทพฯ

ประกาศพรก.ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เริ่มใช้เวลา 6.00 น. ในวันที่ 4 มกราคม 2564 โดยใช้กับจังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด 28 จังหวัด โดยมีมาตรการดังนี้

1. ห้ามใช้อาคารหรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค ห้ามการใช้อาคารหรือสถานที่ของโรงเรียนและสถาบันการศึกษาทุกประเภท ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้

  1. เรียนออนไลน์ได้
  2. ใช้สถานที่เพื่อให้ความช่วยเหลือ สงเคราะห์ อุปถัมภ์ หรือให้การอุปการะแก่บุคคล
  3. จัดกิจกรรมของทางราชการ หรือกิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด
  4. โรงเรียนขนาดเล็กนักเรียนรวมไม่เกิน 120 คน เปิดทำการสอนได้

2. ห้ามจัดกิจกรรม การประชุม การสัมมนา การจัดเลี้ยง การแจกจ่ายอาหารหรือ สิ่งของต่างๆ ที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค

โดยให้ผู้ว่าฯ กําหนดหลักเกณฑ์ การพิจารณาอนุญาตของพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่

3. ให้อำนาจผู้ว่าฯ ปิดสถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ ผับ บาร์ คาราโอเกะ ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุด

4. การขายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้จัดระเบียบการเข้าใช้บริการ จํานวนผู้นั่งกินในร้าน

การจัดสถานที่ให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติและมาตรการป้องกันโรค หรืออาจให้เป็นลักษณะของการนํากลับไปกินที่บ้าน

ห้ามการดื่มสุรา และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน

5. ผู้ว่าฯ มีอำนาจในการสั่งปิด จํากัด หรือห้ามการดําเนินการของพื้นที่ สถานที่

หรือพาหนะหรือสั่งให้งดการทํากิจกรรมอื่นในเขต พื้นที่รับผิดชอบ

6.  ให้ประชาชนงดหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัดเว้นแต่กรณีมีเหตุจําเป็น ต้องแสดงเหตุผลและหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยจะมีการตรวจคัดกรองการเดินทางข้ามจังหวัด โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ และต้องไม่เป็นการ ก่อความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุ

7. ขอความร่วมมือภาคเอกชนพิจารณารูปแบบการปฏิบัติงาน ทำงานเหลื่อมเวลา หรือ

  • work from home เพื่อลดจำนวนผู้ปฏิบัติงาน

8. ให้คณะกรรมการเฉพาะกิจ มีอำนาจพิจารณาผ่อนคลายมาตรการป้องกัน และเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุญาตให้ผ่อนคลายหรือกระชับมาตรการที่ตามที่เห็นสมควร

Write A Comment