วิธีป้องกัน ผู้สูงวัยพลัดตกหกล้ม
ปัญหาที่พบบ่อยใน “ผู้สูงอายุ” ที่ได้รับอุบัติเหตุพลัดตกหกล้มส่วนมากมักมีสาเหตุจากความเสื่อมและการถดถอยของร่างกาย อีกทั้งจากโรคภัยไข้เจ็บเป็นผลให้การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ลดลง
และส่วนใหญ่เมื่อได้รับอุบัติเหตุพลัดตกหกล้มขึ้น ผลกระทบต่อร่างกายส่วนใหญ่ คือ กระดูกสะโพกหักและศีรษะได้รับความกระทบกระเทือน เป็นอีกหนึ่งสาเหตุทำให้พิการและมีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง ซึ่งอุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม มักเกิดกับผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 65-75 ปี เนื่องจากผู้สูงอายุมักจะมีภาวะกระดูกบางหรือกระดูกพรุน เมื่อหกล้มกระดูกจึงเกิดการแตกหรือหักได้ง่าย นอกจากผู้สูงอายุในบ้าน เกิดอุบัติเหตุดังกล่าว ไม่ใช่แค่เจ้าตัวเจ็บ แถมยังต้องเจ็บตังในการรักษาอีกด้วย
วันนี้ ANC มีคำแนะนำให้กับลูกหลาน หรือหากใครที่มีสมาชิกผู้สูงวัยที่บ้าน เตรียมพร้อมรับมือรู้จักวิธีป้องกัน ผู้สูงวัยพลักตกหกล้ม เพื่อให้เกิดเหตุได้น้อยที่สุด

ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยที่กระดูกหักในครั้งแรกไม่เคยตรวจหรือรักษาโรคกระดูกพรุนเลย
-
ส่วนร้อยละ 10 ของการลื่นล้ม ทำให้กระดูกสะโพกหัก และร้อยละ 25 ของการบาดเจ็บกระดูกสะโพกเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิต
-
ซึ่งในแต่ละปี 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุมักลื่นล้มและครึ่งหนึ่งลื่นล้มมากกว่า 1 ครั้ง
-
โดยมีแนวโน้ม ที่ผู้สูงอายุเคยหกล้มในครั้งแรกแล้ว ก็จะมีโอกาสหกล้มเพิ่มขึ้น 2 – 3 เท่า การลื่นล้มมักเกิดขึ้นโดยเฉพาะในห้องน้ำและบันได
-
และส่วนใหญ่ผู้ป่วยกระดูกหักจากการลื่นล้มที่บ้านเกือบ 100% มีโรคประจำตัว ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเส้นเลือดสูง โรคหัวใจ บางรายมีไตวายเรื้อรัง ดังนั้นจึงทำให้การดูแลรักษาซับซ้อนมากขึ้น ทำให้สมาชิกในบ้านต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด และขณะอยู่ในโรงพยาบาลก็เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น แผลกดทับ ปอดบวม ติดเชื้อในระบบต่าง ๆ เป็นต้น

การลื่นล้มสามารถป้องกันได้ แต่ต้องทราบถึงสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุก่อนจึงจะแก้ไขและดูแลได้ถูกวิธี
-
สาเหตุทางกาย เช่น การทรงตัว ขาอ่อนแรง พักผ่อนน้อย อ่อนเพลีย หน้ามืด
-
สาเหตุทางการมองเห็น เช่น สายตาไม่ดี สายตาพล่ามัวกระทันหัน แสงสว่างไม่พอ
-
สาเหตุทางการได้ยิน เช่น ระบบไหลเวียนเลือด ฯ
-
สาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อม เช่น ห้องน้ำเปียก พื้นลื่น พื้นไม่มีพื้นที่ยึด อุปกรณ์ไม่มั่นคง

-
1. รับประทานอาหารให้เพียงพอ เน้นผักและผลไม้ เพื่อรักษาสมดุลของร่างกายและต้านทานโรค
-
2. พักผ่อนให้เพียงพอ และไม่ควรงดอาหาร เพราะจะทำให้อ่อนเพลีย มึนงง
-
3. เดินหรือออกกำลังกายเพื่อรักษาความยืดหยุ่นของข้อและสมดุลของร่างกาย
-
4. หากรับยาที่มีผลทำให้ง่วงซึม หลับ ต้องปรับเปลี่ยนการทำกิจวัตรประจำวันเพื่อลดภาวะเสี่ยงต่อการลื่นล้ม
-
5. ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เพราะเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ
-
6. ตรวจสอบอุปกรณ์ช่วยเดินว่ามีความแข็งแรงมั่นคง และปรับระดับความสูงให้เหมาะสมที่อยู่ในระดับที่พอดี

-
-
ติดแผ่นกันลื่น ใช้วัสดุไม้สังเคราะห์ หรือถ้าเป็นกระเบื้องในห้องน้ำควรใช้กระเบื้องแผ่นเล็ก มีผิวด้านหรือผิวสัมผัสเป็นลวดลาย
-
ขนาดเตียงที่เหมาะสม
-
ประตูต้องเปิด-ปิดง่ายต่อการใช้งาน
-
มีราวจับ ตามจุดต่างๆ เช่น ห้องน้ำ เป็นต้น
-
เปิดแสงไฟให้สว่าง
-
ของใช้ เครื่องใช้ต่างๆควรสะดวกต่อการใช้งาน เช่น ราวตากผ้าควรอยู่ในระดับที่ไม่สูงเกินจนผู้สูงวัยต้องเอื้อม
-
ติดอุปกรณ์ตัวช่วยในยามฉุกเฉิน ทั้งห้องนอน ห้องน้ำ เป็นต้น
-
มีประกันอุบัติเหตุเพื่อบริหารความเสี่ยง เรื่องค่าใช้จ่าย
-
บริหารความเสี่ยงด้วยประกันอุบัติเหตุ >> คลิก
Comments are closed.