เมื่อพาร์ทที่แล้ว “เราได้พูดถึงเรื่อง พ.ร.บ. คืออะไร?” ไปแล้ว
คิดว่าพอจะเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนๆได้พอสมควร แต่หากเพื่อนๆคนไหนยังไม่ได้อ่าน สามารถอ่านบทความนี้ได้ที่ : คลิก
วันนี้ ANC จะมาพูดถึงการเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันทางรถ แล้วมีพ.ร.บ. ดีอย่างไร

เมื่อพูดถึง พ.ร.บ. ก็เป็นสิ่งจำเป็นไม่ต่างกับประกันภัยรถ
เพราะไม่ใช่แค่เพียงกฏหมายบังคับว่าให้รถทุกคันต้องมี พ.ร.บ. แต่ยังสามารถช่วยลดความเสี่ยง ทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น

หากตรวจพบว่า รถของท่านไม่มี พ.ร.บ. ท่านก็จะได้รับโทษทางกฎหมาย ปรับไม่เกิน 10,000 บาท ทั้งเจ้าของรถและผู้นำรถที่ไม่มี พ.ร.บ.มาใช้

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์
– เครื่องยนต์ไม่เกิน 75 CC 150 บาทขึ้นไป
– เครื่องยนต์ 75 – 125 CC 350 บาทขึ้นไป
– เครื่องยนต์ 125 – 150 CC 450 บาทขึ้นไป
– เครื่องยนต์มากกว่า 150 CC 650 บาทขึ้นไป
พ.ร.บ. รถยนต์
– รถยนต์โดยสารที่นั่งไม่เกิน 7 คน 600 บาท/ปี
– รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง 1,100 บาท/ปี
– รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,050 บาท/ปี
– รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,200 บาท/ปี
– รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 40 ที่นั่ง เสียค่าต่อ พ.ร.บ. 3,740 บาท/ปี
– รถยนต์ไฟฟ้า 600 บาท/ปี
*ราคายังไม่ภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7%
พ.ร.บ.รถกระบะ
– รถยนต์บรรทุก (รถกระบะ) น้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน 900 บาท
– รถยนต์บรรทุก น้ำหนักเกิน 3 ตัน แต่ไม่เกิน 6 ตัน 1,220 บาท
– รถยนต์บรรทุก น้ำหนักเกิน 6 ตัน แต่ไม่เกิน 12 ตัน 1,310 บาท
– รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวมไม่เกิน 12 ตัน 1,680 บาท
– รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวมเกิน 12 ตัน 2,320 บาท

เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นเราสามารถเคลมอุบัติเหตุได้กับบริษัทประกันที่เราซื้อ พ.ร.บ.รถยนต์ดังนี้
– บาดเจ็บ สามารถเคลมค่ารักษาพยาบาลได้ โดยทาง พ.ร.บ.จะจ่ายตามจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท/คน
– ทุพพลภาพ หากพิการหลังเกิดอุบัติเหตุ ทางบริษัทประกันจะจ่ายให้อีกจากค่ารักษาเบื้องต้น 30,000 บาท จากข้อ 1 แต่ไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน
– เสียชีวิต ถ้าเสียชีวิตทันทีหลังจากประสบอุบัติเหตุ บริษัทประกันจะจ่ายเงินค่าทำศพ 35,000 บาทต่อคน แต่หากเสียชีวิตหลังจากรับการรักษาไปแล้ว (จากข้อ 1 ตามวงเงินรักษา 30,000 บาทต่อคน) ทางประกันก็จะจ่ายแบบเหมารวมไม่เกิน 65,000 บาท
อันนี้เป็นการเคลมได้ทันทีโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิดของผู้เอาประกันภัย แต่หากพิสูจน์ยืนยันว่าผู้ขับฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด ฝั่งบริษัทประกันที่เป็นฝ่ายผิดจะรับผิดชอบแก่ผู้เสียหาย ในกรณีบาดเจ็บ รับค่าชดเชยไม่เกิน 80,000 บาท แต่หากเสียชีวิต หรือพิการ จะชดเชยเป็นเงิน 500,000 บาท

ผู้บาดเจ็บ หรือทายาท สามารถยื่นเรื่องขอรับค่ารักษาพยาบาลด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจให้โรงพยาบาลเป็นผู้รับแทนก็ได้ภายใน 7 วัน โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด และระยะเวลาในการขอใช้สิทธิ์ พ.ร.บ.ภายใน 180 วันหลังจากวันที่เกิดเหตุ โดยเตรียมหลักฐานให้ครบ ดังนี้
-
สำเนาบัตรประชาชนทั้งผู้บาดเจ็บและเจ้าของรถ
-
สำเนาทะเบียนบ้าน
-
สำเนาบันทึกประจำวันจากตำรวจ
-
สำเนาหนังสือจดทะเบียนรถ
-
ตารางกรมธรรม์ประกันภัย
-
ใบเสร็จรับเงินและใบรับรองแพทย์จากทางโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา
Comments are closed.